ต่อใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าวและต่อวีซ่าแรงงานต่างด้าว
ที่หมดอายุตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564
บริการ ต่อใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าว Work Permit และ ต่อวีซ่าแรงงานต่างด้าว VISA (MOUครบ4ปี)

ขั้นตอนการรับบริการ MOUครบ4ปี
- แรงงานไปตรวจสุขภาพ (รายละเอียดการตรวจสุขภาพ)
- แรงงานไปถ่ายรูปที่ร้านหรือมาถ่ายที่บริษัท(ฟรี)
- นายจ้างลงนามแบบฟอร์มที่ทางเราจัดเตรียมให้
- ยื่นเอกสารและชำระค่าใช้จ่ายกับทางบริษัทฯ
วิธีการดำเนินการต่อวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน MOUครบ4ปี
- ยื่นเอกสารต่อวีซ่า ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
- ยื่นเอกสารต่อใบอนุญาตทำงานที่กรมจัดหางาน
- ยื่นขอจัดทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย(ทำบัตรต่างด้าวสีชมพู)
เอกสารที่ต้องใช้ของนายจ้าง (สำเนา 3 ชุด)
1. สำเนาหนังสือรับรองบริษัทฯ อายุไม่เกิน 3 เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล) 2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนนายจ้าง 3. สำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง 4. สำเนาทะเบียนการค้า (ถ้ามี) *เซ็นต์ชื่อสด+ประทับตราจริงทุกใบ
เอกสารที่ต้องใช้ของแรงงานต่างด้าว
1. หนังสือเดินทาง (Passport) ตัวจริง
2. ใบอนุญาตทำงาน (Work permit) ตัวจริง
3. รูปถ่าย 1.5 นิ้ว พื้นหลังขาว 6 รูป (พาแรงงานมาถ่ายที่บริษัทได้)
4. รูปถ่ายครึ่งตัว พื้นหลังขาว (ปริ้นใส่กระดาษ A4 1 รูป ) (พาแรงงานมาถ่ายที่บริษัทได้)
5. ใบรับรองแพทย์และใบเสร็จจ่ายเงินกับทางโรงพยาบาล
สามารถยื่นต่อใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าว Work Permit และ ต่อวีซ่าแรงงานต่างด้าว ล่วงได้ 45 วัน
รวมค่าบริการและค่าธรรมเนียมMOUครบ4ปี
ทางเลือกที่ 1. แรงงานไปตรวจสุขภาพเอง 7,200 บาท ต่อคน
ทางเลือกที่ 2. รวมบริการพาแรงงานไปตรวจสุขภาพด้วย 8,700 บาท ต่อคน (ไม่รวมประกันสุขภาพแรงงาน)
ช่วงนี้จัดหางานไม่เก็บเงินค่าประกัน MOU 1,000 บาท
หมายเหตุ: ค่าบริการและค่าธรรมเนียมไม่รวมเงินประกันโดยตอนที่ต่อMOU ครบ2ปี ได้เคยวางไว้แล้วต้องแนบหลักฐานใบเสร็จมาด้วย ถ้าไม่มีต้องเพิ่มเงินประกันอีก 1,000 ต่อคน
อย่าลืม! เลือกจ้างบริษัทที่มีระบบตรวจสอบการทำงานนะครับ

ประกาศให้ต่ออายุจากรัฐบาล
ประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะเพื่อการท างาน
ส าหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักร
ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน
ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ข้อควรรู้เรื่องเงินประกัน MOU
การคืนเงินประกันค่าใช้จ่ายในการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร
1. สิทธิในการขอคืนเงินประกัน
ลูกจ้างซึ่งกลับออกไปนอกราชอาณาจ้กรโดยค่าใช้จ่ายของตนเองทุกคน
2. หน้าที่ของนายทะเบียน
คืนเงินประกันค่าใช้จ่ายฯให้แก่ลูกจ้างภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคําร้องหรือหนังสือ
แจ้งการขอคืนเงินฯ ในกรณีที่นายทะเบียนคืนเงินประกันค่าใช้จ่ายฯให้แก่ลูกจ้าง หากพ้น
กําหนดเวลาดังกล่าว นายทะเบียนต้องคืนเงินต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่ครบกําหนดสามสิบวันดังกล่าวจนถึงวันที่คืนเงินประกันให้ลูกจ้าง
3. วิธีการขอคืนเงินประกัน ประกอบด้วย 3 วิธีได้แก่
3.1. ขอคืนล่วงหน้าก่อนวันเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์
ล่วงหน้าเพื่อขอคืนเงินประกันค่าใช้จ่ายในการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (ก.ต.2)
ก่อนเดินทางกลับฯไม่น้อยกว่า 15 วัน
3.2. ขอคืน ณ วันเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ยื่นแบบคําร้องขอคืนเงินประกัน
ค่าใช้จ่ายในการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (ก.ต.1) ต่อนายทะเบียนในวันที่
เดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง
3.3. ขอคืนเงินประกันค่าใช้จ่ายหลังจากเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ยื่นแบบ
คําร้องขอคืนเงินประกันค่าใช้จ่ายในการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร (ก.ต.1)
ต่อนายทะเบียน ณ ด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
ไปยังสํานักงานกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร
สามารถอ่าน ฉบับเต็มได้ที่นี่ เงินประกันแรงงานต่างด้าว