ผ่านแล้ว 5 ก.ค. 66 มติครม. เห็นชอบให้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2566 รอบใหม่ 4 สัญชาติ

ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2566 มติ ครม. วันที่ 5 ก.ค. 2566

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

มติ ครม. ผ่านแล้ว ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2566

สนใจ บริการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว2566 กดที่นี่ลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2566 ภายใน 31 ก.ค. 2566สนใจ บริการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว2566 กดที่นี่

อ่านก่อนโดนโกง - ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ภายใน 31 ก.ค. 2566
อ่านก่อนโดนโกง – ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ภายใน 31 ก.ค. 2566

 

มติ ครม. ผ่านแล้ว เตรียมตัวขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2566
มติ ครม. ผ่านแล้ว เตรียมตัวขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2566

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 5 กรกฎาคม 2566 ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2566

13. เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมายตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบการบริหารจัดการคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี ที่ประสงค์จะทำงาน สามารถอยู่และทำงานเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 โดยต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงาน ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคนต่างด้าวดังกล่าวประกอบด้วย
1.1 คนต่างด้าว 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ที่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ซึ่งมีอายุหรือหมดอายุ และมีรอยตราประทับ ซึ่งการอนุญาตทำงานหรือการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย เช่น กรณีคนต่างด้าวออกจากนายจ้างรายเดิมแล้วไม่สามารถหานายจ้างรายใหม่ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือกรณีไม่สามารถทำงานต่อไปได้เนื่องจากดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมาไม่ครบทุกขั้นตอน
1.2 คนต่างด้าว 4 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ที่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางและมีรอยตราประทับ โดยระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลงแต่ไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร (Over Stay)
1.3 คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่เข้าเมืองผิดกฎหมายหรือการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุด และทำงานอยู่กับนายจ้างก่อนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบ

2. เห็นชอบการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
2.1 กระทรวงมหาดไทย ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ดังนี้
1) ให้คนต่างด้าวตามข้อ 1. อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษถึงวันที่  31 กรกฎาคม 2566 เพื่อดำเนินการตามประกาศกระทรวงแรงงาน
2) ให้ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของต่างด้าวตามข้อ 1. ที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรได้ตามระยะเวลาที่บิดาหรือมารดาของผู้นั้นได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร โดยให้ผู้ติดตามคนต่างด้าวนั้นดำเนินการหรือบิดาหรือมารดาของผู้นั้นดำเนินการตามแนวทางที่กระทรวงแรงงานกำหนด
3) มิให้นำมาตรา 12 (10) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2558 เรื่อง การไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวดังกล่าว รวมถึงกำหนดการสิ้นผลของการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ

ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม    ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ …

ประกาศกระทรวงมหาดไทย มติ ครม 5 กรกฎาคม 2566_Page_1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย มติ ครม 5 กรกฎาคม 2566_Page_2

2.2 กระทรวงแรงงาน ออกประกาศกระทรวงแรงงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดการดำเนินการ ดังนี้
1) นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อพร้อมรูปถ่ายเพื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Name list) ต่อกรมการจัดหางาน
2) กรมการจัดหางานตรวจ/อนุมัติบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้าง  (Name list) แรงงานต่างด้าว และให้คนต่างด้าวใช้บัญชีรายชื่อ (Name list) เป็นเอกสารหลักฐาน เพื่อแสดงว่าคนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ …

สรุปประกาศกระทรวงแรงงาน มติ ครม. 5 ก.ค. 2566
สรุปประกาศกระทรวงแรงงาน มติ ครม. 5 ก.ค. 2566

ที่มา https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/70027

SHARE: