การเปลี่ยนนายจ้างแรงงานต่างด้าว ทำยังไง มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

การเปลี่ยนนายจ้างแรงงานต่างด้าว ทำยังไง มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

ใบแจ้งออกหมดอายุ เปลี่ยนจ้างไม่ได้ ขออนุญาตทำงานใหม่ ก่อน 27 พ.ย. 2564
ใบแจ้งออกหมดอายุ เปลี่ยนจ้างไม่ได้ ขออนุญาตทำงานใหม่ ก่อน 27 พ.ย. 2564

การเปลี่ยนนายจ้างแรงงานต่างด้าว

ปัจจุบันการเปลี่ยนนายจ้าง = การแจ้งเข้า แจ้งออก ของแรงงานต่างด้าว

 

เงื่อนไขการเปลี่ยนนายจ้างแรงงานต่างด้าว

  1. นายจ้างเลิกจ้าง นายจ้างเสียชีวิต
  2. นายจ้างล้มละลาย
  3. นายจ้างกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกายลูกจ้าง
  4. นายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างหรือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
  5. ลูกจ้างทำงานในสภาพแวดล้อมที่อันตรายต่อชีวิต จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย
  6. นายจ้างใหม่ยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้นายจ้างเดิม

    การเปลี่ยนนายจ้างแรงงานต่างด้าว ทำยังไง มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
    การเปลี่ยนนายจ้างแรงงานต่างด้าว ทำยังไง มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

แต่ในปัจจุบัน พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2561) กำหนดให้แรงงานต่างด้าวสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ โดยไม่ต้องใช้ใบแจ้งออกจากงานจากนายจ้างเก่า (กลุ่มพิสูจน์สัญชาติ) แต่นายจ้างเก่ายังคงมีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียน ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่แรงงานต่างด้าวออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด หากไม่แจ้งจะมีความผิดตามกฎหมาย

กลุ่มบัตรชมพู ต้องเปลี่ยนนายจ้างภายใน 15 วัน

กลุ่ม MOU ต้องเปลี่ยนนายจ้างภายใน 30 วัน

ถ้า "เกินกำหนด" ต้องนำเข้า MOU ใหม่เท่านนั้น!!

ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนนายจ้าง 400 บาท ต่อคน

และเงินประกันแรงงาน 1,000 บาท

เอกสารที่ต้องใช้แจ้งเข้าแรงงานต่างด้าว

เอกสารนายจ้าง(1 ชุด)

  1. หนังสือรับรองบริษัทอายุไม่เกิน 3 เดือน
  2. สำเนาบัตรประชาชน
  3. สำเนาทะเบียนบ้าน
  4. เฉพาะงานก่อสร้าง ต้องใช้สัญญาก่อสร้าง 1 ชุด

เอกสารแรงงาน

  1. พาสปอร์ตเล่มจริง
  2. ใบอนุญาตทำงานตัวจริง
  3. รูปถ่ายพื้นหลังสีขาว ขนาด 1 นิ้งครึ่ง 3 รูป
  4. ใบแจ้งออกตัวจริง ในกรณีเป็น MOU ไม่เกิน 15 วัน
บริการเปลี่ยนนายจ้าง(แจ้งเข้าแรงงานต่างด้าว)
บริการเปลี่ยนนายจ้าง(แจ้งเข้าแรงงานต่างด้าว)

 

เอกสารที่ต้องใช้แจ้งออกแรงงานต่างด้าว

  1. สำเนาพาสปอร์ต
  2. สำเนาวีซ่า
  3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน
  4. สำเนาบัตรประชาชนนายจ้าง
  5. สำเนาทะเบียนบ้านนายจ้าง
  6. (นิติบุคคล) ในกรณีจดทะเบียนเป็นบริษัทใช้หนังสือรับรอง 1 ชุด พร้อมลงนาม+ประทับตราบริษัท
บริการเปลี่ยนนายจ้าง(แจ้งออก)
บริการเปลี่ยนนายจ้าง(แจ้งออก)

 

อย่าลืม! เลือกจ้างบริษัทที่มีระบบตรวจสอบการทำงานนะครับ

ระบบตรวจสอบการดำเนินการเอกสารแรงงานต่างด้าว ผ่าน QR-CODE

ระบบตรวจสอบการดำเนินการเอกสารแรงงานต่างด้าว ผ่าน QR-CODE

 

 


แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนนายจ้างของคนต่างด้าวที่นำมาทำงานตาม MOU

ด้วยพระาชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๑ เกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานและนายจ้าง อันเนื่องมาจากการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ โดยได้เพิ่มเติมหลักการเกี่ยวกับการให้คนต่างด้าวซึ่งผู้รับอนุญาตฯ หรือนายจ้างได้นำเข้ามาทำงานในประเทศเพื่อทำงานนั้นมีสิทธิที่จะเปลี่ยนนายจ้างก่อนครบสัญญาจ้างไว้เป็นการเฉพาะ

เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมการจัดหางานเป็นไปในแนวทางเดียวกัน กรมการจัดหางานจึงวางแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนนายจ้างของคนต่างด้าวที่นำมาทำงานตามบันทึกข้อตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ (MOU) ดังต่อไปนี้

๑. เมื่อคนต่างด้าวได้แจ้งเปลี่ยนนายจ้างก่อนครบสัญญาจ้าง ไม่ว่านายจ้างรายเดิมจะแจ้งการออกจากงานของคนต่างด้าวหรือไม่ก็ตาม หากปรากฎว่าคนต่างด้าวนั้นเป็นคนต่างด้าวที่นำมาทำงานตาม MOU ให้นายทะเบียนแห่งท้องที่จังหวัดอันเป็นที่ตั้งสถานที่ทำงานปัจจุบันของคนต่างด้าว พิจารณาเปลี่ยนนายจ้างให้คนต่างด้าวดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อคนต่างด้าวนั้นพิสูจน์ให้นายทะเบียนเห็นว่าคนต่างด้าวมีสิทธิที่จะเปลี่ยนนายจ้างตามมาตรา ๕๑ ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้

(๑) การที่คนต่างด้าวนั้นออกจากงานเนื่องจากความผิดของนายจ้าง เช่น นายจ้างกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกายลูกจ้าง นายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างหรือกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขอนามัย เป็นต้น และรวมถึงกรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างเสียชีวิต หรือนายจ้างล้มละลาย

(๒) กรณีได้มีการชำระค่าเสียหายให้แก่นายจ้างรายเดิมแล้ว (อันได้แก่ ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการนำคนต่างด้าวนั้นมาทำงานโดยคำนาณตามสัดส่วนของระยะเวลาที่คนต่างด้าวนั้นทำงานไปแล้ว) ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่คนต่างด้าวชำระค่าเสียหายเองหรือกรณีที่นายจ้างใหม่หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ชำระค่าเสียหายก็ตาม โดยมีเอกสารหรือหลักฐานที่แสดงว่านายจ้างรายเดิมได้รับชำระค่าเสียหายแล้ว

ทั้งนี้ หากคนต่างด้าวไม่สามารถพิสูจน์ให้นายทะเบียนเห็นได้ตาม (๑) หรือ (๒) ให้ถือว่าคนต่างด้าวนั้นไม่มีสิทธิเปลี่ยนนายจ้าง

๒. มาตรา ๕๒ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว ได้กำหนดกรอบระยะเวลาของคนต่างด้าวที่มีสิทธิเปลี่ยนนายจ้างตามข้อ ๑ ไว้ว่าจะต้องทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายในระยะเวลา ๓๐ วัน นับแต่วันที่เลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิม ทั้งนี้ หากคนต่างด้าวนั้นเป็นคนต่างด้าวที่นายจ้างเป็นผู้นำเข้ามาทำงานกับตนตามมาตรา ๔๖ นายจ้างรายใหม่จะต้องวางหลักประกันต่ออธิบดีภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่จ้างคนต่างด้าวนั้นด้วย โดยอัตราของหลักประกันของนายจ้างให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อ ๒๒ ของกฎกระทรวงการของอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการกำหนดหลักประกันในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งยังคงใช้บังคับได้โดยผลของบทเฉพาะกาล มาตรา ๑๔๕ กล่าวคือ กรณีนายจ้างนำคนต่างด้าวมาทำงานไม่เกิน ๙๙ คน ให้วางหลักประกันเป็นจำนวน ๑,๐๐๐ บาทต่อคนต่างด้าว ๑ คน แต่กรณีนายจ้างนำคนต่างด้าวมาทำงานตั้งแต่ ๑๐๐ คนขึ้นไป ให้วางหลักประกันเป็นจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท

๓. ในกรณีที่คนต่างด้าวนั้นไม่มีสิทธิเปลี่ยนนายจ้างตามข้อ ๑ หรือไม่ได้ทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายในกำหนดระยะเวลาตามข้อ ๒ ให้ถือว่าใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวดังกล่าวสิ้นสุดลงนับแต่วันที่คนต่างด้าวออกจากงานหรือพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะต้องเปลี่ยนนายจ้างตามข้อ ๒ รวมทั้งถือว่าการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวผู้นั้นเป็นอันสิ้นสุดลงตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และเมื่อการอนุญาตดังกล่าวเป็นอันสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย ให้ผู้รับอนุญาตฯ หรือนายจ้างรายสุดท้ายแล้วแต่กรณี เป็นผู้มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางตามนัยมาตรา ๕๓ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว

SHARE: