CI OSS เตรียมจัดตั้งศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล เมียนมาในไทย 5 แห่ง

CI OSS เปิดศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล เมียนมาในไทย

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

เปิดศูนย์ทำหนังสือรับรองสถานะบุคคล Ci พม่า เริ่มวันที่ 10 มกราคม 2565

 

ศูนย์พิจารณาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร เพื่ออนุญาตให้ทำงาน และ ออกเอกสารรับรองบุคคล Ci โดยโมบายทีม ได้เคลื่อนย้ายมาให้บริการ ที่ ปทุมธานีแล้วเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565

เอกสารเปิดศูนย์ทำหนังสือรับรองสถานะบุคคล Ci พม่า
เอกสารเปิดศูนย์ทำหนังสือรับรองสถานะบุคคล Ci พม่า

ประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง กำหนดสถานที่ ci

คำสั่งกรมการจัดหางาน เรื่อง จัดตั้งศูนย์ ci

 

บริการ ทำหนังสือรับรองสถานะบุคคล Ci พม่า ใหม่
บริการ ทำหนังสือรับรองสถานะบุคคล Ci พม่า ใหม่

กระทรวงแรงงาน เตรียมจัดตั้งศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) เมียนมาในไทย 5 แห่ง จังหวัดระนอง สมุทรปราการ เชียงใหม่ สมุทรสาคร และชลบุรี แก้ปัญหาหนังสือเดินทางคนต่างด้าวหมดอายุ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และแรงงานต่างด้าวไม่สามารถเดินทางกลับเข้าประเทศต้นทาง เพื่อไปทำหนังเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางใหม่ได้

สถานที่ออกเอกสารรับรองบุคคล Certicate of Identiy CI ของทางการเมียนมา ในประเทศไท
สถานที่ออกเอกสารรับรองบุคคล Certicate of Identiy CI ของทางการเมียนมา ในประเทศไท

กระทรวงแรงงาน รับข้อเสนอ ทางการเมียนมา เตรียมจัดตั้งศูนย์ CI ในประเทศไทย 5 แห่ง

กระทรวงแรงงาน รับข้อเสนอ ทางการเมียนมา เตรียมจัดตั้งศูนย์ CI ในประเทศไทย 5 แห่ง
กระทรวงแรงงาน รับข้อเสนอ ทางการเมียนมา เตรียมจัดตั้งศูนย์ CI ในประเทศไทย 5 แห่ง

คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) เสนอขอจัดตั้งศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) ของทางการเมียนมาในประเทศไทย จำนวน 5 แห่ง และศูนย์บริการเคลื่อนที่แก้ปัญหาหนังสือเดินทางคนต่างด้าวทยอยหมดอายุ เนื่องจากไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นทางเพื่อต่ออายุได้

วันที่ 24 มีนาคม 2564 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ครั้งที่ 2/2564  โดยมีนายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม  ณ ห้องประชุม เทียน อัชกุล ชั้น 10 กรมการจัดหางาน อาคารกระทรวงแรงงานเพื่อพิจารณาการขอจัดตั้งศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) ของทางการเมียนมาในประเทศไทย จำนวน 5 แห่ง
1. จังหวัดระนอง
2. จังหวัดสมุทรปราการ
3. จังหวัดเชียงใหม่
4. จังหวัดสมุทรสาคร
5. ชลบุรี

ถ้าหากจำเป็น จะออกให้บริการเคลื่อนที่นอกเหนือจาก 5 แห่งข้างต้นด้วย “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่จัดส่งแรงงานมาทำงานในประเทศไทย ประกาศใช้มาตรการด้านสาธารณสุข และมาตรการควบคุมโรค ซึ่งต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัย  อย่างไรก็ตาม การไม่สามารถเดินทางผ่านแดนได้ตามสถานการณ์ปกตินั้น หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกระทบขั้นตอนการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งกระทรวงแรงงานได้เตรียมแนวทางการรับมือปัญหาดังกล่าว โดยจัดตั้งศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) ของทางการเมียนมาในประเทศไทย แห่งแรกในจังหวัดสมุทรสาคร พื้นที่เดียวกันกับศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราว (The Temporary Data Collection Centre : TDCC) และในอนาคตจะมีการจัดตั้งศูนย์ฯ เพิ่มขึ้นในจังหวัดต่างๆ ประมาณ 3 – 5 แห่ง  ตามความจำเป็น

ในส่วนทางการกัมพูชา จะส่งทีมเจ้าหน้าที่เข้ามาดำเนินการขยายอายุเอกสารเดินทาง (Travel Document : TD) โดยการติดสติ๊กเกอร์ลงในเล่มมีอายุ 2 ปี ณ สถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย ทั้งนี้ แรงงานกัมพูชาสามารถยื่นคำขอผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้

และทางการลาว หนังสือเดินทางของแรงงานลาวที่ใกล้หมดอายุ สามารถมาดำเนินการติดต่อขอเปลี่ยนเล่มใหม่ได้ ณ สถานทูตลาวประจำประเทศไทย

เพื่อมิให้แรงงานต่างด้าวที่ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีแล้วและถือเอกสารประจำตัวที่หมดอายุและกำลังจะหมดอายุมีสถานะเป็นคนต่างด้าวผิดกฎหมาย เกี่ยวกับเรื่องนี้พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เน้นย้ำและติดตามความคืบหน้ามาโดยตลอด เนื่องจากอาจกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ปัญหาด้านความมั่นคง การค้ามนุษย์ รวมถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้วย”  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าว

กระทรวงแรงงาน รับข้อเสนอ ทางการเมียนมา เตรียมจัดตั้งศูนย์ CI ในประเทศไทย 5 แห่ง

ด้านนายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า กรณีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าว ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานอยู่ในประเทศไทยทยอยหมดอายุ และแรงงานต่างด้าวไม่สามารถเดินทางกลับเข้าประเทศต้นทางเพื่อไปทำหนังเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางใหม่ได้ เป็นเรื่องเร่งด่วนที่กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่รับผิดชอบของทั้ง 3 ประเทศ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ต้องร่วมกันหารือแนวทางรับมือข้อขัดข้องที่อาจเกิด เนื่องจากการที่แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติจะทำงานและอยู่ในราชอาณาจักรอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เอกสารประจำตัวแรงงานต่างด้าวจะต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนที่จะไปดำเนินการตรวจลงตรา (Visa) เพื่อขออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

สรุปข่าว มติคณะรัฐมนตรีต่างด้าว วันที่ 26 มกราคม 2564

SHARE: