แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 4 สิงหาคม 2563 แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา)

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

14 เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้

แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

สรุปการประชุมคณะรัฐมนตรี 4 สิงหาคม 2563 แนวทางจัดการคนต่างด้าว

บริการทำบัตรต่างด้าวรอบใหม่
บริการทำบัตรต่างด้าวรอบใหม่

1. กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการ

1.1 ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้คนต่างด้าวรวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิของคนต่างด้าวซึ่งเป็นบิดาหรือมารดาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะเพื่อดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และมิให้นำมาตรา 12 (10) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว รวมถึงกำหนดการสิ้นผลของการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะของคนต่างด้าว
โดยคนต่างด้าวดังกล่าวข้างต้น หมายถึงคนต่างด้าว ดังต่อไปนี้
(1) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) วาระการจ้างงานครบ 4 ปี ซึ่งยังคงอยู่ในราชอาณาจักร และมีนายจ้างที่ต้องการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงาน
(2) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ที่การอนุญาตทำงานสิ้นสุด เนื่องจากการถูกเลิกจ้างและไม่สามารถหานายจ้างรายใหม่ได้ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 50 มาตรา 53 และมาตรา 55 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และแก้ไขเพิ่มเติม

มาตรา ๕๐ เมื่อผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานได้นำคนต่างด้าวมาส่ง
มอบให้นายจ้างตามมาตรา ๔๓ แล้ว ในกรณีที่มีเหตุดังต่อไปนี้ ให้นายจ้างแจ้งให้ผู้รับอนุญาตให้นำ
คนต่างด้าวมาทำงานและนายทะเบียนทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว แล้วแต่กรณี
(๑) นายจ้างไม่รับคนต่างด้าวนั้นเข้าทำงาน
(๒) คนต่างด้าวไม่ยินยอมทำงานกับนายจ้าง
(๓) คนต่างด้าวออกจากงานไม่ว่าด้วยเหตุใด
ในกรณีที่มีเหตุตาม (๑) หรือ (๓) เฉพาะที่มิใช่ความผิดของลูกจ้าง และคนต่างด้าว
นั้นประสงค์จะทำงานกับนายจ้างรายอื่น ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานอาจจัดให้คนต่างด้าว
ทำงานกับนายจ้างรายอื่นได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างไม่รับเข้าทำงาน แต่ระยะเวลาการ
ทำงานกับนายจ้างรายใหม่ต้องไม่เกินกำหนดระยะเวลาตามสัญญานำคนต่างด้าวมาทำงาน
ในกรณีตาม (๒) เฉพาะที่เป็นความผิดของนายจ้าง ให้นำมาตรา ๕๑ และมาตรา ๕๒
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานดำเนินการตามวรรคสองหรือวรรคสาม
เป็นประการใด ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบตามแบบที่อธิบดีกำหนด
ในกรณีที่มีเหตุตาม (๑) หรือ (๒) และคนต่างด้าวนั้นไม่ได้ทำงานกับนายจ้างรายใหม่
ภายในกำหนดเวลา ให้ถือว่าการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวผู้นั้นเป็นอันสิ้นสุดลง
ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานจัดส่งคนต่างด้าวนั้น
กลับไปยังประเทศต้นทางภายในเจ็ดวันนับแต่พ้นกำหนดเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ และส่ง
หลักฐานการออกนอกราชอาณาจักรของคนต่างด้าวดังกล่าวให้นายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันส่ง
คนต่างด้าวนั้นกลับ ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการดังกล่าวได้ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบภายในสามวัน
นับแต่พ้นกำหนดเวลาการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ และให้นายทะเบียนแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการเพื่อให้มีการส่งคนต่างด้าวนั้นออก
นอกราชอาณาจักรโดยเร็ว ในกรณีเช่นนั้นผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานต้องเป็นผู้ออก
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือเจ้าหน้าที่
ตำรวจ ไม่เกินอัตราที่อธิบดีกำหนด
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานไม่ส่งหลักฐานการออกนอก
ราชอาณาจักรภายในกำหนดเวลาตามวรรคห้า ให้ชำระค่าปรับทางปกครองต่อนายทะเบียนวันละ
หนึ่งพันบาทต่อคนต่างด้าวหนึ่งคน จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง แต่ไม่เกินสองหมื่นบาทต่อคน
ต่างด้าวหนึ่งคน

มาตรา ๕๓ คนต่างด้าวซึ่งไม่มีสิทธิเปลี่ยนนายจ้างตามมาตรา ๕๑ หรือคนต่างด้าว
ซึ่งมีสิทธิเปลี่ยนนายจ้างแต่ไม่ได้ทำงานกับนายจ้างรายอื่นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๒ ให้
ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวผู้นั้นสิ้นสุดลงนับแต่วันที่คนต่างด้าวนั้นออกจากงาน หรือพ้น
กำหนดเวลาตามมาตรา ๕๒ แล้วแต่กรณี และให้ถือว่าการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรของ
คนต่างด้าวผู้นั้นเป็นอันสิ้นสุดลงตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างรายสุดท้ายที่วางหลักประกัน
ตามมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๒ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดส่งคนต่างด้าวตามวรรคหนึ่ง
กลับไปยังประเทศต้นทาง แล้วแต่กรณี

มาตรา ๕๕ เมื่อคนต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้างตามมาตรา ๔๓ หรือมาตรา ๔๖
ทำงานจนครบกำหนดตามสัญญาการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศหรือสัญญาจ้าง
แล้ว ให้ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานหรือนายจ้างรายสุดท้ายที่วางหลักประกันตามมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๒ จัดส่งคนต่างด้าวนั้นกลับไปยังประเทศต้นทาง เว้นแต่จะมีการต่ออายุ
สัญญาจ้างหรือคนต่างด้าวนั้นจะทำงานกับนายจ้างรายใหม่ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา ๕๒
ให้นำความในมาตรา ๕๐ วรรคห้าและวรรคหก มาใช้บังคับแก่การจัดส่งคนต่างด้าว
กลับไปยังประเทศต้นทางตามวรรคหนึ่งด้วยโดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงานเลิกประกอบธุรกิจการนำคนต่างด้าว
มาทำงาน ให้นายทะเบียนคืนหลักประกันให้แก่ผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน เมื่อผู้รับ
อนุญาตดังกล่าวแสดงหลักฐานว่าได้ส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางแล้วซึ่งต้องไม่ช้ากว่าสองปี
นับแต่วันที่เลิกประกอบธุรกิจ เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมา
ทำงานยังไม่สามารถแสดงหลักฐานการส่งคนต่างด้าวกลับต่อนายทะเบียนได้ ให้หลักประกันนั้น
ตกเป็นของกองทุนเพื่อใช้จ่ายในการส่งคนต่างด้าวออกนอกราชอาณาจักรต่อไป ในกรณีที่ผู้รับอนุญาต
ให้นำคนต่างด้าวมาทำงานแสดงหลักฐานการส่งคนต่างด้าวกลับได้เพียงบางส่วนภายในกำหนดเวลา
ดังกล่าว ให้อธิบดีคืนหลักประกันให้ตามอัตราส่วนและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

ซึ่งยังคงอยู่ในราชอาณาจักร และมีนายจ้างที่ต้องการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงาน
(3) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ
ได้รับเอกสารประจำตัว ได้แก่ หนังสือเดินทาง เอกสารเดินทาง หรือเอกสารรับรองบุคคล ซึ่งการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและการอนุญาตให้ทำงานสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 แต่นายจ้างไม่ได้ดำเนินการยื่นขอรับบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งยังคงอยู่ในราชอาณาจักร และมีนายจ้างที่ต้องการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงาน
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คน  ต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาลาว และเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
1.2 ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามความตกลงว่าด้วยการข้ามแดนในลักษณะไป – กลับ หรือแบบตามฤดูกาล ตามมาตรา64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ครบวาระการจ้างงานและการอนุญาตให้พำนักในเขตพื้นที่ชายแดนที่ได้รับอนุญาตสิ้นสุด ซึ่งยังคงอยู่ในราชอาณาจักร และมีนายจ้างที่ต้องการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงาน อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ เพื่อให้คนต่างด้าวดังกล่าวดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งนี้ มิให้นำมาตรา 12 (10) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวที่ได้ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว รวมถึงกำหนดการสิ้นผลของการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะของคนต่างด้าว
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชาและเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
1.3 ให้กรมการปกครองและกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ และออกบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ให้แก่คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตร ที่ถือหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล และได้รับการอนุญาตทำงาน ตรวจสุขภาพ และการตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564

2. กระทรวงแรงงาน ดำเนินการ

2.1 ออกประกาศกระทรวงแรงงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 ประกอบกับมาตรา 63/2 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติมให้คนต่างด้าวสามารถทำงานไปพลางก่อนได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตทำงาน เพื่อการดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และให้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการขอรับใบอนุญาตทำงานประเภทงานที่อนุญาตให้คนต่างด้าวทำ เงื่อนไขในการอนุญาตให้ทำงาน การสิ้นผลของการอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว รวมถึงการยกเว้นการแจ้งข้อมูลการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงานของนายจ้างตามมาตรา 13 และการแจ้งข้อมูลการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64/2 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว เฉพาะการยื่นคำขออนุญาตทำงานตามแนวทางดังกล่าว
โดยคนต่างด้าวดังกล่าวข้างต้น หมายถึงคนต่างด้าว ดังต่อไปนี้
(1) ดนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) วาระการจ้างงานครบ 4 ปี ซึ่งยังคงอยู่ในราชอาณาจักร และมีนายจ้างที่ต้องการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงาน
(2) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MoU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ที่การอนุญาตทำงานสิ้นสุด เนื่องจากการถูกเลิกจ้างและไม่สามารถหานายจ้างรายใหม่ได้ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 50 มาตรา 53 และมาตรา 55 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งยังคงอยู่ในราชอาณาจักร และมีนายจ้างที่ต้องการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงาน
(3) คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ
ได้รับเอกสารประจำตัว ได้แก่ หนังสือเดินทาง เอกสารเดินทาง หรือเอกสารรับรองบุคคล ซึ่งการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและการอนุญาตให้ทำงานสิ้นสุดตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน  พ.ศ. 2563 แต่นายจ้างไม่ได้ดำเนินการยื่นขอรับบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งยังคงอยู่ในราชอาณาจักร และมีนายจ้างที่ต้องการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงาน
(4) ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวตาม (3) ที่มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิของคนต่างด้าวซึ่งเป็นบิดาหรือมารดาที่มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2.2 ออกประกาศกระทรวงแรงงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 ประกอบกับมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามความตกลงว่าด้วยการข้ามแดนในลักษณะไป – กลับ หรือแบบตามฤดูกาลที่ครบวาระการจ้างงานและการอนุญาตให้พำนักในเขตพื้นที่ชายแดนที่ได้รับอนุญาตสิ้นสุด ซึ่งยังคงอยู่ในราชอาณาจักร และมีนายจ้างที่ต้องการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงาน ให้สามารถทำงานไปพลางก่อนได้โดยไม่ต้องมีใบอนุญาตทำงาน เพื่อการดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และให้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการขอรับใบอนุญาตทำงาน ประเภทงานที่อนุญาตให้คนต่างด้าวทำ เงื่อนไขในการอนุญาตให้ทำงาน การสิ้นผลของการอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว รวมถึงการยกเว้นการแจ้งข้อมูลการจ้างคนต่างด้าวเข้าทำงานของนายจ้างตามมาตรา 13 และการแจ้งข้อมูลการทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64/2 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว เฉพาะการยื่นคำขออนุญาตทำงานตามแนวทางดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามมาตรา 64 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2.3 ให้กรมการจัดหางานเริ่มดำเนินการรับคำขอรับใบอนุญาตทำงานและออกใบอนุญาตทำงาน ตามแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

3. กระทรวงสาธารณสุข โดยสถานพยาบาลของรัฐที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ดำเนินการ

3.1 ตรวจสุขภาพคนต่างด้าวและผู้ติดตามที่อายุไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์
3.2 ประกันสุขภาพในกรณีที่คนต่างด้าวทำงานในกิจการที่เข้าระบบประกันสังคมแต่สิทธิประกันสังคมยังไม่มีผล หรือกรณีที่คนต่างด้าวทำงานในกิจการที่ไม่เข้าระบบประกันสังคม
3.3 ประกันสุขภาพผู้ติดตามที่อายุไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์
ตามแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563 โดยสถานพยาบาลของรัฐต้องตรวจสุขภาพและออกผลการตรวจสุขภาพ (ใบรับรองแพทย์) ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

4. สำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ดำเนินการตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวที่มีหนังสือเดินทาง เอกสารเดินทาง หรือเอกสารรับรองบุคคล และผู้ติดตามที่อายุไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ อยู่ต่อในราชอาณาจักร ตามแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อการทำงาน ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 และเมื่อคนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรครบกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกเพื่อการทำงานให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565
สำหรับผู้ติดตามคนต่างด้าวให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเท่ากับระยะเวลาที่คนต่างด้าวซึ่งเป็นบิดาหรือมารดาได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร แต่ระยะเวลาเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินวันที่ผู้ติดตามมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์
กรณีเอกสารประจำตัวของคนต่างด้าวมีอายุเหลือน้อยกว่าหนึ่งปี ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปเท่ากับอายุเอกสารประจำตัว หากคนต่างด้าวประสงค์อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานต่อไป ต้องไปดำเนินการขอมีเอกสารประจำตัวฉบับใหม่กับหน่วยงานของประเทศต้นทาง เมื่อคนต่างด้าวได้รับเอกสารประจำตัวฉบับใหม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองย้ายรอยตราประทับอนุญาตไปยังเอกสารประจำตัวฉบับใหม่ และขยายระยะเวลาการอนุญาตให้ตามสิทธิ
คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ที่เข้ามาทำงานตามความตกลงว่าด้วยการข้ามแดนในลักษณะไป – กลับ หรือแบบตามฤดูกาลตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่ม ซึ่งครบกำหนดวาระการจ้างงานและการอนุญาตให้พำนักในเขตพื้นที่ชายแดนที่ได้รับอนุญาตสิ้นสุดลงในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 ซึ่งได้รับการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อทำงานถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส           โคโรนา 2019 รวมถึง เจ้าบ้าน เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวดังกล่าวเข้าพักอาศัย ต้องปฏิบัติตามนัยมาตรา 37 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

5. ให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้นายจ้าง ผู้ประกอบการ แรงงานต่างด้าว และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบข้อมูลอย่างถูกต้องทั่วถึง

6. หลังสิ้นสุดระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ

ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามมาตรา 64 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงดำเนินการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุมดำเนินคดี นายจ้าง แรงงานผิดกฎหมายที่ลักลอบทำงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด

SHARE: