ลงทะเบียนฉีดวัคซีนต่างด้าว ได้เมื่อไหร่

คนต่างด้าวลงทะเบียนฉีดวัคซีน ได้เมื่อไหร่?

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

ฉีดวัคซีน COVID-19 กับแรงงานต่างด้าว พม่า ลาว กัมพูชา


Facebook รวมสถานที่ฉีดวัคซีน อ่านต่อที่ Comment 

กรมควบคุมโรคย้ำ!  ฉีดวัคซีนโควิดไม่เลือกปฏิบัติ
เป็นไปตามนโยบาย ฉีดให้ทุกคนที่อยู่ในแผ่นดินไทย ตามหลักปฏิบัติทางการแพทย์และสาธารณสุข
โดยนโยบายของรัฐบาล มีนโยบายชัดเจนว่า การฉีดวัคซีนโควิดจะฉีดให้กับทุกคนในแผ่นดินไทยโดยความสมัครใจ
บุคคลใดที่อยู่ในประเทศไทยหากสมัครใจ มีข้อบ่งชี้และไม่มีข้อห้ามก็จะได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหมด

การฉีดวัคซีนให้แรงงานต่างด้าวมีหลักปฏิบัติอย่างไร

ให้ยึดตามหลักสากล ข้อบ่งชี้ตามทางการแพทย์ทั้งหมด ยึดหลักเกณฑ์อย่างไรกับคนไทย แรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทยก็เหมือนกัน
การฉีดวัคซีนเป็นไปตามความสมัครใจ แรงงานต่างด้าวทุกคนที่อยู่ในแผ่นดินไทยจะได้รับการฉีดวัคซีน
โดยขั้นตอนการดำเนินการ
ขณะนี้รอวัคซีนเข้ามาให้เพียงพอ 
แต่หากมีภาวะแก้ไขเร่งด่วน ก็ได้มีการดำเนินไปบ้างแล้ว
ยกตัวอย่างที่จังหวัดสมุทรสาคร ได้มีการฉีดวัคซีนให้กับแรงงานต่างด้าวไปจำนวนมาก
ดังนั้นหลักปฏิบัติ เป็นไปตามนโยบายคือแรงงานต่างด้าวทุกคนในแผ่นดินไทยต้องได้รับวัคซีน

 

คนต่างด้าวลงทะเบียนฉีดวัคซีน ได้เมื่อไหร่
คนต่างด้าวลงทะเบียนฉีดวัคซีน ได้เมื่อไหร่

การลงทะเบียนรับวัคซีนให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติของแต่ละจังหวัด

ซึ่งในบางจังหวัดก็ได้มีการดำเนินการแล้วเช่นในจังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต ได้มีการขอเชิญแรงงานต่างด้าวในเขตเทศบาลนครภูเก็ต
(ต.ตลาดเหนือ,ตำบลตลาดใหญ่) ลงทะเบียนรับวัคซีนโควิด -19 โดยให้นำเอกสารประจำตนซึ่งประกอบด้วย สำเนาใบอนุญาตทำงาน, สำเนาบัตรสีชมพู, สำเนาหนังสือเดินทาง และสำเนาวีซ่า มาลงทะเบียนได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้สถานการณ์ระดับตำบล (EOC) เทศบาลนครภูเก็ต อาคารอเนกประสงค์ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลนครภูเก็ต ถนนกระ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
https://www.phuketcity.go.th/news/detail/5088

สำหรับกรณีเร่งด่วนในการจัดสรรวัคซีนนั้น ให้ดำเนินการตามคำแนะนำของหน่วยงานราชการ

ยกตัวอย่างเช่น แคมป์คนงานและโครงการก่อสร้าง​ ของบริษัท​ นันทวัน​ จำกัด​ (THAI OBAYASHI)
มีแรงงานในไซต์งานก่อสร้างติดเชื้อโควิด จากคลัสเตอร์ในพื้นที่คลองเตย เขตคลองเตย และบ่อนไก่ เขตปทุมวัน ช่วงกลางเดือนพ.ค.64 ที่ผ่านมา
ทำให้บริษัทฯมีนโยบายดำเนินการอย่างเร่งด่วน ตรวจคัดกรองเชิงรุกแรงงานทั้งชาวไทยและต่างด่าวทั้งหมดที่ทำงานให้กับบริษัท เมื่อพบผู้ติดเชื้อจึงนำส่งรักษาตามกระบวนการ แต่เนื่องจากแรงงานยังคงต้องใช้ชีวิตประจำวันรวมถึงผู้รับเหมาที่นำแรงงานจากภายนอกมาทำงานร่วมกันอาจทำให้เกิดการแพร่เชื้ออีกครั้ง โดยแรงงานเหล่านี้ก็ต้องหยุดปฏิบัติงาน ทำให้งานก่อสร้างต้องหยุดชะงัก และไม่สามารถเสร็จงานได้ทันตามแผนงานที่วางไว้ บริษัทเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ทางผู้บริหารจึงได้ประชุมและหาแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาด

ซึ่งได้รับคำแนะนำจากหน่วยงานราชการ ถึงการฉีดวัคซีนให้กับแรงงานทั้งชาวไทยและต่างด้าว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้เกิดขึ้นนั้น ถือเป็นแนวทางที่จะช่วยควบคุมการแพร่ระบาดได้ บริษัทจึงเห็นสมควรให้มีการจัดหาวัคซีนมาฉีดให้กับแรงงานที่ทำงานให้กับบริษัท ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กำหนดขึ้น
ทางบริษัทจึงได้ยื่นเอกสารลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ขอรับการจัดสรรวัคซีนโควิดตัวเลือก ซิโนฟาร์ม ระยะที่ 1 เพื่อนำมาฉีดให้กับแรงงานชาวไทย ต่างด้าว และผู้รับเหมาที่นำแรงงานมาทำงานให้กับบริษัทตามขั้นตอนที่กำหนด  โดยบริษัทได้รับการจัดสรรวัคซีนมาทั้งสิ้น 7,400 โดส ฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้รวม 2 เข็มจำนวน 3,700 คน ซึ่งได้ดำเนินการฉีดให้แรงงานที่อยู่ในไซต์งานก่อสร้างที่เขตบางนาไปแล้ว จึงมีการฉีดให้กับซัพพลายเอร์ ผู้รับเหมาและแรงงานชาวไทย-แรงงานต่างด้าวที่พักนอกแคมป์ รวมทั้งสิ้น 1,100 คน โดยมีโรงพยาบาลมเหสักข์ เป็นหน่วยพยาบาลดำเนินการฉีดวัคซีนให้ และจะดำเนินการฉีดให้กับแรงงานไทย-แรงงานต่างด้าว ที่พักอยู่ในแคมป์ที่พักคนงาน เขตปทุมวัน ส่วนพนักงานของบริษัทที่ต้องลงพื้นที่คุมงาน ได้รับการฉีดวัคซีนตามระบบประกันสังคมครบทุกคนแล้ว

กล่าวโดยสรุป

แรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทย จะได้รับการฉีดวัคซีนแน่นอน

แต่เมื่อไหร่ ลงทะเบียนอย่างไร แนวทางการเข้ารับวัคซีนนั้นทำอย่างไร

ต้องรอวัคซีนเข้ามาให้เพียงพอ  และจัดทำรูปแบบการลงทะเบียนให้แรงงานต่างด้าวผ่านระบบต่างๆ
โดยขณะนี้ยังไม่มีประกาศว่าจะลงทะเบียนอย่างไร  ให้เป็นไปตามแนวทางดำเนินการหน่วยงานราชการของแต่ละจังหวัด
หรือหากมีภาวะเร่งด่วนให้ดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานราชการตามจังหวัดนั้นๆ
หากเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะชี้แจงให้ทราบอีกครั้ง

 

 

อย่าลงเชื่อนายหน้า รับจองวัคซีน โควิด ให้แรงงานต่างด้าว เข้าข่ายผิดกฎหมาย

1.วัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ที่จะโฆษณาต้องได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยา และได้รับการอนุมัติให้โฆษณายาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

2.โฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล กรณีการจองวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ต้องยื่นขออนุมัติจากผู้อนุญาต ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 คือ กรม สบส. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หากได้รับการอนุมัติแล้วจึงสามารถเผยแพร่โฆษณาได้

3.หากสถานพยาบาลมีการเรียกเก็บเงินมัดจำ หรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากประชาชน หากไม่สามารถดำเนินการตามถ้อยคำที่ปรากฏในโฆษณา จะต้องคืนเงินมัดจำหรือค่าใช้จ่ายใดๆเต็มจำนวน

4.การกำหนดระยะเวลาในการฉีดวัคซีน ต้องกำหนดระยะเวลาให้ใกล้เคียงที่จะได้รับวัคซีนมาให้บริการจริงมากที่สุด เพื่อป้องกันมิให้ประชาชนเกิดความคาดหวังเกินจริงกับระยะเวลา และป้องกันมิให้ประชาชนต้องรอคอยเนิ่นนานจนเกินสมควร

5.ในการโฆษณาทุกครั้งต้องระบุข้อความ “รัฐบาลได้มีการจัดสรรวัคซีนโควิด 19 ให้กับประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย” และ “ส่วนการจองวัคซีนโควิด 19 ของสถานพยาบาลเอกชนเป็นทางเลือกหนึ่งที่ประชาชนสามารถเลือกรับบริการได้ แต่ต้องชำระค่าใช้จ่ายเอง”

https://hss.moph.go.th/show_topic.php?id=4334

 


กระชายขาวเสริมภูมิต้านทาน

หากทราบผลว่าติดเชื้อโควิด-19 ควรทำอย่างไร ?

คู่มือวัคซีนสู้โควิด ฉบับประชาชน ภาษาลาว 

คู่มือวัคซีนสู้โควิด ฉบับประชาชน ภาษากัมพูชา 

คู่มือวัคซีนสู้โควิด ฉบับประชาชน ภาษาพม่า 

คู่มือวัคซีนสู้โควิด ฉบับประชาชน ภาษาไทย

1.เตรียมเอกสารต้องใช้ เช่น บัตรประชาชน หนังสือเดินทาง ใบผลตรวจโควิด-19 แจ้งหมายเลขโทรศัพท์ของตน กับทางหน่วยงานที่รับเรื่องเพื่อเข้ารับการรักษา โดยการโทร 1330 , 1669 , 1668

2.งดออกจากที่พักหรือเดินทางข้ามจังหวัด (หากฝ่าฝืนถือว่าผิดพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 34)

3.งดใกล้ชิดครอบครัวและผู้อื่น แยกห้องน้ำหากทำได้

4.หากมีไข้ให้รับประทานยาพาราเซตามอล และเช็ดตัวเพื่อลดไข้

5.สวมแมสก์ตลอดเวลาและแยกของใช้ส่วนตัว หากพบการติดเชื้อโควิด-19 ในบริษัท สถานที่ทำงาน หรือ คอนโดมิเนียมควรทำอย่างไร

หากทราบผลว่าติดเชื้อโควิด-19 ควรทำอย่างไร

 

การพบบุคคลติดโควิด-19 ในที่ทำงาน หรือ บริษัท

1.ให้พนักงาน/ผู้พักอาศัยติดเชื้อหยุดงานทันทีและแยกตัวเองจากผู้อื่น

2.แจ้งเจ้าหน้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ ภายใน 3 ชม. เพื่อควบคุมโรคและคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

3.ผู้มีความเสี่ยงสูงให้รีบพบแพทย์ทันทีพร้อมทั้งกักตัว 14 วัน

5.ผู้มีความเสี่ยงต่ำ แยกตัวเองเพื่อสังเกตอาการ 14 วัน หากมีอาการให้รีบพบแพทย์

 

การพบบุคคลติดโควิด-19 ในสถานที่หรือคอนโด อพาร์ทเม้นต์

1.หยุดกิจกรรมในแผนก/ชั้นที่มีคนติดเชื้อเพื่อทำความสะอาด1-3ชั้น

2.พนักงาน/ผู้พักอาศัย ทำความสะอาด สิ่งของ ที่ใช้งานบ่อยๆเช่นโต๊ะทำงาน/โทรศัพท์

3.ทำสะอาดบริเวณที่มีผู้สัมผัสจำนวนมากเช่น ราวจับบันได/ลูกบิดประตู/ห้องน้ำ

4.ระมัดระวังการเก็บขยะติดเชื้อ เช่น ทิชชู่ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว ให้ใส่ถุงขยะสีแดงและปิดปากถุงให้มิดชิด

5.ผู้ปฏิบัติการทำความสะอาด ต้องสวมอุปกรณ์ ส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดจมูก และ รองเท้าพื้นยางหุ้มแข้งตลอดเวลา

 

ผู้ที่ควรรับการตรวจหาเชื้อโควิด-19

  • ผู้ที่ใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19อย่างน้อย 14 วัน
  • ผู้ที่มีอาการเข้าข่ายการติดเชื้อ เช่น มีไข้ รู้สึกหนาว ไอแห้ง เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว หายใจถี่ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย มีน้ำมูก เป็นต้น
  • ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 อย่างใกล้ชิด
  • ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ลูกเรือสายการบินต่างๆ เป็นต้น
  • ผู้ที่มีประวัติกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง

โควิดไม่แสดงอาการคืออะไร

คืออาการระยะแรกที่มีโอกาสส่งเชื้อสู่ผู้อื่นสูง ได้แก่ อาการไอ จาม แม้ตัวผู้ป่วยจะไม่มีอาการรุนแรงในระยะแรก แต่เป็นช่วงที่ไวรัสเพิ่มจำนวนได้สูง

โควิดไม่แสดงอาการเกิดขึ้นกับเราหรือยัง

เนื่องจากหลังรับเชื้อระยะแรกผู้ป่วยเองอาจยังไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อ ก็ยังเข้าสู่สังคม ใช้ชีวิตประจำวันปกติ เดินทางไปมาหาสู่ครอบครัวและเพื่อนพ้อง เมื่อละเลยการป้องกันตัวเอง กลายเป็นพาหะส่งเชื้อให้คนรอบข้างไม่รู้ตัว ควรสังเกตอาการตัวเองว่ามีอาการ มีไข้ ไอ จาม จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นแยกรสชาติไม่ได้ ปวดเมื่อยร่างกายเล็กน้อยท้องเสียเล็กน้อยเมื่อยล้า อ่อนเพลีย

 

มั่นใจได้อย่างไรว่าเป็นแค่ ไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่

เพราะอาการของไข้หวัดใหญ่ กับอาการโควิด-19 คล้ายคลึงกัน สิ่งที่พอจะแยกได้คือเรื่องการรับกลิ่นและรับรสชาติ อย่างไรก็ดีหากเดินทางไปยังสถานที่ที่ระบุว่าพบเชื้อสูง ควรแจ้งกับเจ้าหน้าที่คัดกรองก่อนเข้ารับการตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วย โควิดไม่แสดงอาการ นานถึง 4 สัปดาห์ บางคนได้รับเชื้อแล้วแต่ไม่รู้ตัว จากงานวิจัยของหลายประเทศที่พบผู้ติดเชื้อสูง ก็สามารถสรุปได้ว่าหากรับเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 นี้เข้าไปแล้ว อาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่แสดงอาการนานถึง 4-6 สัปดาห์ เพราะฉะนั้นการกักตัว 14 วัน จึงช่วยลดการแพร่เชื้อโควิดช่วงที่ไม่แสดงอาการได้

SHARE: