ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567 จุดประสงค์เพื่ออะไร

ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567

เลือกอ่านหัวข้อที่สนใจ

มติ ครม. ยังไม่มีการเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567

โปรดติดตามจาก มติ ครม. อีกครั้ง

โปรดระวัง มิจฉาชีพ ยังไม่มีการเปิดให้ขึ้นทะเบียน แรงงานผิดกฎหมาย 2024-05
โปรดระวัง มิจฉาชีพ ยังไม่มีการเปิดให้ขึ้นทะเบียน แรงงานผิดกฎหมาย 2024-05

การขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย

เป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อให้แรงงานสามารถทำงานได้อย่างถูกกฎหมายและได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากภาครัฐและนายจ้าง โดยกระบวนการนี้รวมถึงการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน การตรวจสุขภาพ การทำเอกสารประจำตัว และการต่ออายุวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน

จุดประสงค์

  • ป้องกันการใช้แรงงานผิดกฎหมาย: การขึ้นทะเบียนช่วยลดปัญหาการใช้แรงงานผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์
  • การคุ้มครองสิทธิแรงงาน: แรงงานที่ถูกขึ้นทะเบียนจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานของไทย

การเตรียมความพร้อมขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567

กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่มีแนวโน้มจะขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567 ได้

1. แรงงานต่างด้าวต้องมีนายจ้าง และ มีงานทำ

2. แรงงานหลบหนีเข้าเมือง ไม่มีเอกสารใดๆ

3. มีเอกสารแต่หมดอายุไปแล้ว

4. มีวีซ่าทำงาน แต่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน บัตรชมพู

5. มีเอกสารครบ ทุกอย่าง (พาสปอร์ต,วีซ่าทำงาน, ใบอนุญาตทํางาน, บัตรชมพู) แต่ใบแจ้งออกหมดอายุ หรือ นายจ้างเก่าไม่ยอมแจ้งออก

แรงงานกลุ่มที่ ต้องขึ้นทะเบียนใหม่ เมื่อภาครัฐเปิดให้ดำเนินการ ปี2567
แรงงานกลุ่มที่ ต้องขึ้นทะเบียนใหม่ เมื่อภาครัฐเปิดให้ดำเนินการ ปี2567

 

สิ่งที่ทำได้ระหว่างรอการเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567 คือการเตรียมเอกสารต่างๆให้พร้อมดังนี้

คนต่างด้าวเตรียมเอกสารดังนี้ อ้างอิงจากการเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างปี 2566

1. รูปถ่ายแรงงาน 1 นิ้วครึ่ง จำนวน 6 รูป พื้นหลังสีขาว

2. สำเนาพาสปอร์ต (ถ้ามี)

3. สำเนาวีซ่า (ถ้ามี)

4. สำเนาใบอนุญาตทำงาน (ถ้ามี)

5. สำเนาบัตรประชาชนแรงงานงาน (ถ้ามี)

6. สำทะเบียนบ้านที่ประเทศแรงงาน (ถ้ามี)

7. ถ้าไม่มีเอกสารอะไรเลย เตรียมข้อมูล เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ อายุ สัญชาติ เพศ เบอร์โทรศัพท์
เอกสารลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2566 ภายใน 31 ก.ค. 2566

ข้อดีและข้อเสียของการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567

🇰🇭 🇱🇦 🇲🇲 กลุ่มขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ตามประกาศภาครัฐ
👉 ข้อดี
1.ดำเนินการในประเทศไทย ไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง
2.แรงงานผิดกฏหมายที่ลักลอบอยู่ในประเทศไทย สามารถเข้าระบบได้ทันที เมื่อเปิดให้ดำเนินการ
3. เมื่อเอกสารหมดอายุ สามารถต่ออายุได้โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง
4.เปลี่ยนย้ายนายจ้างได้ง่ายกว่ากลุ่ม นำเข้าระบบ MOU
5.นายจ้างสามารถดำเนินการเองได้ทุกขั้นตอน
👉 ข้อเสีย
1.ค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับกลุ่ม MOU จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า
2.เปลี่ยนย้ายนายจ้างได้ง่าย ส่งผลให้ทำงานไม่คงทนกับนายจ้าง
3.ภาครัฐไม่ได้เปิดให้ขึ้นทะเบียนทุกปี
4.ต้องติดต่อหน่วยงานภาครัฐ หลายภาคส่วน
ข้อดีและข้อเสียของการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวปั2567

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน การเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567 ยังไม่เปิด

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบัน การเปิดขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 2567 ยังไม่เปิด

SHARE: